ดีแทคเฟ้นนักพัฒนาแอพ หัวกะทิ กรุยทางสู่ซิลิกอนแวลลีย์
Posted by admin on
February 28, 2013
ดีแทค ปั้นโครงการ dtac Accelerate หวังพลิกทางลัดดันนักพัฒนาแอพฯ เลือดไทยสู่ซิลิกอนแวลลีย์ ศูนย์กลางนวัตกรรมโลก ประเดิมกิจกรรมประกวดโมบายแอพฯ หนุนเสนอผลงานกับบรรดานักลงทุน…
นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีที่สุด ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจสู่โมบายคอนเทนต์และแอพพลิเคชั่น เพื่อสร้าง application ecosystem ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางด้านการส่งเสริมการตลาดกับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นในประเทศไทย เพื่อนำแอพพลิเคชั่นดีๆ สู่ผู้ใช้บริการ โดยตอนนี้ ทางดีแทคได้ผู้บริหารหน้าใหม่ กระทิง-เรืองโรจน์ พูลผล มาร่วมงานเพื่อดูแลฝ่ายผลิตภัณฑ์ และ application ecosystem
นายเรืองโรจน์ พูนผล ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ดีแทค กล่าวว่า บริษัทเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย เราจึงริเริ่มโครงการ dtac Accelerate เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คนไทยลุกขึ้นมาสร้างนวัตกรรม แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมให้คนไทยร่วมปฏิวัติอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เพิ่มพื้นที่เรียนรู้และแสดงศักยภาพให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จากการที่เคยผ่านประสบการณ์ทำงานที่ ซิลิกอนแวลลีย์มาก่อน ผมเชื่อว่าที่นั่นคือศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ เป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรด้านเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักทั่วโลกมากมาย แต่ก็ไม่ใช่ที่ที่ใครๆ สามารถประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ และวันนี้ ดีแทคได้นำโอกาสนั้นมาสู่คนไทยที่มีความสามารถ มีความกล้าที่จะคิด ทำในสิ่งที่แตกต่าง และเป็นไปได้ โครงการนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นเส้นทางลัดนำทีมนักพัฒนาไทยไปสู่ซิลิคอน ซิลิกอนแวลลีย์เพื่อมุ่งมั่นสร้างฝันให้เป็นจริงบนเวทีการแข่งขันระดับโลก
ทั้งนี้ ซิลิกอนแวลลีย์ คือศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมไฮเทคระดับโลก ได้รับการขนานนามว่าเป็นเสมือนดินแดนมหัศจรรย์ ที่ซึ่งความคิด ความฝัน เทคโนโลยี และธุรกิจมาสอดประสานกันและสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับโลกได้เสมอ ตั้งอยู่ที่เมืองซาน ฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งกำเนิดของบริษัทชั้นนำที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก อาทิ กูเกิ้ล ยูทูป แอปเปิ้ล เอชพี ซิสโก้ อินสตาแกรม ฯลฯ
สำหรับประสบการณ์ของเรืองโรจน์ที่ซิลิกอนแวลลีย์มีทั้งการทำงานและการร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัท โดยทำงานที่บริษัทกูเกิ้ล และเป็นหนึ่งในทีมผู้พัฒนากูเกิ้ลเอิร์ธ? โปรแกรมแสดงแผนที่ เส้นทาง และภาพภูมิทัศน์จากทั่วโลก และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Technology Startup สามารถระดมเงินทุน 1.1 ล้านดอลลาร์จาก Angel Investor และเริ่มต้นตั้งบริษัทของตัวเองที่นั่น? โดยเรืองโรจน์จะนำเอาประสบการณ์ทำงานที่นั่นกว่า 7 ปี มากลั่นกรองและถ่ายทอดสู่ทีมนักพัฒนาที่เข้าร่วมโครงการ dtac Accelerate ภายในระยะเวลาไม่ถึงปี
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมแรกของโครงการ dtac Accelerate คือการจัดประกวดผลงานโมบายแอพพลิเคชั่น ภายใต้ธีม Wizard of App เพื่อหาทีมสุดยอดนักพัฒนาแอพไปสัมผัสบรรยากาศการทำงานแบบองค์กรพัฒนาเทคโนโลยีระดับโลกที่ซิลิกอนแวลลีย์ศูนย์กลางธุรกิจไฮเทคของโลก และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันแคมเปญนี้คือ กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ซึ่งจะนำเอาประสบการณ์ในการทำงานที่ซิลิคอน แวลลีย์มาบอกเล่าเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อมทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับบริษัทต่างๆ ที่นั่นเพื่อนำทีมนักพัฒนาไทยไปเรียนรู้การทำงานแบบนักพัฒนานวัตกรรมระดับโลก โดยโครงการ dtac accelerate ได้พันธมิตรระดับโลกมาสนับสนุนโครงการ อาทิ Blackbox Connect ซึ่งเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก
ทีมนักพัฒนาแอพที่ชนะเลิศในโครงการ dtac Accelerate จะได้เดินทางไปซิลิกอนแวลลีย์เพื่อเข้าร่วมโครงการ Blackbox Accelerate เป็น 1 ใน 12 ทีมจากทั่วโลก และมีโอกาสได้นำเสนอผลงานกับกลุ่มนักลงทุน ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่งในโลกธุรกิจปัจจุบันที่มีองค์กรพัฒนาเทคโนโลยีจำนวนมากมายและภาวะการแข่งขันอันรุนแรง และนอกจากนี้ทีมรองชนะเลิศจะได้รับโอกาสร่วม Accelerator program ในระดับภูมิภาค ซึ่งโครงการ dtac Accelerate นี้มีของรางวัลมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 50 ล้านบาท
การจัดประกวดการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ในโครงการ dtac Accelerate เปิดรับสมัครผู้แข่งขันเป็นทีมจำนวนไม่เกิน 5 คน ผู้สมัครจะต้องส่งข้อเสนอโครงการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ภายในวันที่ 30 เมษายน 2556 จากนั้นคณะกรรมการประกวดจะคัดเลือกให้เหลือ 30 โครงการและประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในเดือนพฤษภาคม จะมีการจัดโค้ชชิ่งเวิร์คช็อปโดยทีมนักพัฒนาเทคโนโลยีระดับโลกให้กับทีมที่ได้รับการคัดเลือกระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2556 จากนั้นจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่เข้ารอบสุดท้าย 10 โครงการเพื่อทำการพัฒนาจริง และตัดสินหาทีมผู้ชนะเลิศในเดือนกันยายน 2556.
?
Tags: กรุยทางสู่ซิลิกอนแวลลีย์, ดีแทคเฟ้นนักพัฒนาแอพ, หัวกะทิแอลจีโว ‘แอลซีรีส์’ ขายแล้ว15ล้านเครื่อง อวดรุ่นใหม่ในMWC2013
Posted by admin on
February 28, 2013
แอลจี เผยยอดขายสมาร์ทโฟนตระกูล L Series ได้กว่า 15 ล้านเครื่องทั่วโลก พร้อมเปิดตัว L Series II ในงานโมบาย เวิลด์ คองเกรส 2013…
Tags: ขายแล้ว15ล้านเครื่อง, อวดรุ่นใหม่ในMWC2013, แอลจีโว, แอลซีรีส์‘แคนนอน’เสนอ เครื่องพิมพ์เอกสาร ครบทุกเรื่อง เครื่องเดียวเอาอยู่
Posted by admin on
February 28, 2013
แคนนอนรุกไม่หยุด ต้อนรับศักราชใหม่ด้วยการเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่น imageRUNNER ADVANCE ซีรีส์ C5200 ให้การจัดการเอกสารภายในองค์กรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพทั้งในเรื่องการถ่ายสำเนา การสแกน และการพิมพ์งานต่างๆ โดยพิมพ์ขาวดำได้เร็วถึง 55 แผ่นต่อนาที พิมพ์สีได้ที่ความเร็ว 51 แผ่นต่อนาที สแกนขาวดำหน้า-หลังได้ที่ 120 หน้าต่อนาที และสแกนสีได้ที่ 100 หน้าต่อนาที
ทำงานไหลลื่นด้วยฟังก์ชั่นและดีไซน์เพื่อความสะดวก
เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่น imageRUNNER ADVANCE ซีรีส์ C5200 ถูกออกแบบมาโดยยึดหลักความรวดเร็ว ประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ของการใช้งาน
ด้วยหน้าจอควบคุมสีแบบ TFT กว้างกว่า 8.4 นิ้ว ทำให้ควบคุมและใช้งานได้ง่ายและสะดวก สามารถเรียกดูไฟล์รูปต่างๆ ทั้ง ไฟล์ JPEG ไฟล์ TIFF และไฟล์ PDF จากหน้าจอทันที โดยปุ่มควบคุมสั่งงานก็ถูกออกแบบใหม่เพื่อให้การใช้งานง่ายมากขึ้น พร้อมมีช่อง USB สำหรับสั่งพิมพ์จากไฟล์งานได้โดยตรง แม้ว่าเครื่องจะอยู่ในโหมดพักการใช้งานอยู่ก็ตาม
อีกเมนูอันโดดเด่นที่เพิ่มมาในเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่นซีรีส์นี้ก็คือ เมนู Scan-to-Word ทำให้การจัดการงานเอกสารเป็นไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ รองรับไฟล์ประเภท OOXML สำหรับโปรแกรม Word เพิ่มเติมจากโปรแกรม PowerPoint นั่นหมายถึง ไม่ว่าความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรจะมีมากมายและหลากหลายมากเท่าใด เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่น imageRUNNER ADVANCE ซีรีส์ C5200 ก็ตอบสนองความต้องการได้ด้วยรูปแบบไฟล์ที่มากขึ้นและนำไปใช้งานได้ทันที
ใช้งานง่ายขึ้นและปลอดภัยกว่า
ด้วยฟังก์ชั่น HDD Data Erase ผู้ใช้งานสามารถลบข้อมูลทั้งหมดที่สั่งงานบนตัวเครื่องได้ทันทีเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งาน และยังสามารถเขียนทับข้อมูลที่เป็นรูปภาพได้ถึง 9 ครั้ง ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลใจว่าข้อมูลของคุณจะถูกผู้อื่นเข้าถึงหรือเรียกคืนมาได้ ปลอดภัยขึ้นไปอีกขั้นจากการโจรกรรมข้อมูล การปรับเปลี่ยนข้อมูล หรือการปลอมแปลงเป็นผู้ใช้งาน ด้วยฟังก์ชั่น IPSec ที่จะช่วยป้องกันข้อมูลที่รับ-ส่งภายในเครือข่าย
ถ้าหากองค์กรใดต้องการระบบความปลอดภัยที่มากขึ้นไปอีก เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่นซีรีส์นี้ยังมี AES256 เป็นอีกฟังก์ชั่นเสริมเพื่อเข้ารหัสเอกสารต่างๆ อาทิ การสแกนเอกสารเป็น PDF เครื่องจะทำการเข้ารหัสโดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้งานต้องการเรียกดูไฟล์ต้องป้อนรหัสเพื่อทำการปลดล็อก ซึ่งวิธีการนี้ถือว่าเป็นมาตรฐานของเอกสารในงานราชการ หรือเอกสารทางกฎหมาย
เสริมด้วยฟังก์ชั่น Audit Log ที่แอดมินสามารถวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบการใช้งานเพื่อออกแบบการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคตผ่านทางข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้งานภายในองค์กร ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ที่ Remote User Interface ไม่ว่าจะเป็น ID ของผู้ใช้งาน ข้อมูลการใช้ สถานะงานถ่ายเอกสาร พิมพ์งาน แฟกซ์ สแกน และส่งไฟล์ไปยังคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย รวมไปถึงการปฏิบัติการอื่นๆ และอีกมากมาย
ประหยัดพลังงานมากกว่าและให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น
เพื่อย้ำถึงการรณรงค์ประหยัดพลังงานภายในองค์กร เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่น imageRUNNER ADVANCE ซีรีส์ C5200 ช่วยให้ทุกอย่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น ปุ่ม Energy Saver ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าได้ 2 แบบเพื่อเลือกระดับการประหยัดพลังงานที่เหมาะสมที่สุดเมื่อเครื่องอยู่ในโหมด Standby
นอกจากนั้นแล้ว ฟังก์ชั่น Remote Shutdown จะสั่งงานให้เครื่องพิมพ์ที่อยู่ในเครือข่ายทั้งหมดสามารถปิดการทำงานได้พร้อมกัน เพื่อลดการใช้พลังงานในขณะที่เครื่องพิมพ์ไม่ได้ถูกใช้งาน และถ้าหากเครื่องพิมพ์อยู่ในโหมด Deep Sleep ก็สามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 1.5 วัตต์เลยทีเดียว
?
Tags: ครบทุกเรื่อง, เครื่องพิมพ์เอกสาร, เครื่องเดียวเอาอยู่, แคนนอนเสนอกสทช.เปิดเวทีผู้ประกอบการร่วม 200 ราย ถก Set Top Box
Posted by admin on
February 28, 2013
สำนักงาน กสทช. เปิดเวที Industry Forum ผู้ประกอบการภาคการผลิต-นำเข้า ตบเท้าร่วมกว่า 200 ราย คาดมีความชัดเจนหลัง มี.ค.นี้…
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) Industry Forum เรื่อง เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยมีผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิต และนำเข้าอุปกรณ์และกล่องรับสัญญาณ หรือเซตท็อปบ็อกซ์ (Set-Top-Box) อาทิ โตชิบา พานาโซนิค แอลจี เข้าร่วมกว่า 200 ราย
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การจัดงานวันนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1.เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิต และนำเข้าปรับตัวเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบดิจิตอล 2.เพื่อชี้แจงมาตรฐานเซตท็อปบ็อกซ์ เวอร์ชั่น 1.3.1 เป็น เวอร์ชั่น 1.2.1 3.เพื่อแจ้งเรื่องการนำเข้าอุปกรณ์ เพราะขณะนี้ กสทช.ยังไม่อนุญาตให้นำเข้าอุปกรณ์ เนื่องจากอยู่ระหว่างการทดลองทดสอบ 4.การมีกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ เพื่อนำมาต่อยอดในกิจการทีวีดิจิตอล และ 5.เพื่อเปิดโอกาส และเสนอแนวทางสำหรับผู้พิการ โดยผู้ประกอบการไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ถึงการปฏิบัติ ซึ่งต้องหารือว่าจะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน นำเข้าได้หรือไม่
รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า ข้อกังวลในครั้งนี้ คือ การออกมาตรฐานใดใดให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากที่สุด ซึ่งต้องคำนึงหลายอย่าง เพราะถ้าออกมาตรฐานที่ก้าวหน้ามากเกินไปอย่างเวอร์ชั่น 1.3.1 ก็จะเป็นภาระ ขณะที่เวอร์ชั่น 1.2.1 จะดีมากกว่าเพราะสามารถใช้งานได้ทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นในวันนี้จะถูกนำเข้าบอร์ด กสท.อีกครั้ง โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนหลังเดือน มี.ค.นี้
ทั้งนี้ ตัวแทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอนิยามสถานะการทำงานของอุปกรณ์ และการกำหนดวัตต์ไฟเพื่อประหยัดพลังงาน ในส่วนของผู้พิการนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นด้วยในการมีอุปกรณ์รองรับการรับชมทีวีดิจิตอล แต่เสนอให้สนับสนุนเงินของกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ลงเฉพาะจุด และพัฒนาขึ้นมาเฉพาะส่วน ไม่ใช่ให้ กสทช. นำเรื่องดังกล่าวมาใช้บังคับทั้งหมด
?
Tags: 200, box, Set, Top, กสทช.เปิดเวทีผู้ประกอบการร่วม, ถก, ราย
tags: 200, box, Set, Top, กสทช.เปิดเวทีผู้ประกอบการร่วม, ถก, ราย
No Comments
โลกาภิวัตน์ 27/02/56
Posted by admin on
February 28, 2013
เก็บได้เป็นกำมือ
ชาวบ้านในเขตเยตกุลสกี้ เดินเก็บเศษซากอุกกาบาต ที่ระเบิดกลางฟ้าเหนือทิวเขาอูราลของรัสเซีย เมื่อก่อนหน้าไม่กี่วัน ในทุ่งอันปกคลุมด้วยหิมะ ได้เต็มกำมือ โดยหวังจะเอาไปขายหาเงินใช้ได้.
เลียนแบบ
แม่กับลูกทําท่าเลียนแบบ ท่าออกกำลัง ที่เห็นในจอโทรทัศน์ยักษ์ ที่ศูนย์พยา-บาลแอนน์ ริชส์ ฮิลลิ่ง ในโรง พยาบาลหลวงลอนดอน.
โรงไฟฟ้าปรมาณูรั่ว
ภาพโรงงานไฟฟ้าปรมาณูโคลัมเบีย เยอเนอเรตติง สเตชั่น ข้างแม่น้ำโคลัมเบีย เมืองแฮนฟอร์ด รัฐวอชิงตัน ที่อเมริกา ที่มีข่าวว่าถังเก็บขยะนิวเคลียร์ใต้ดินเกิดรั่วไม่ต่ำกว่า 6 ถัง แต่ยังไม่ถึงกับจะเป็นอันตรายแก่ประชาชนแต่อย่างใด.
ตัวอย่างหินดาวอังคาร
ภาพถ่ายยานอวกาศ ?เคียวริออส ซิที? บนดาวอังคาร แสดงตัวอย่างหินดาวอังคารป่น ที่เจาะขึ้นมาจากภายในก้อนหินดาวอังคาร เห็นเป็นผงสีขาวอยู่ในที่ตักของยาน.
?
?
Tags: 27/02/56, โลกาภิวัตน์tags: 27/02/56, โลกาภิวัตน์
No Comments
กสทช. แย้มทีวีดิจิตอล ยึดรูปแบบประมูล3จี
Posted by admin on
February 28, 2013
จับเข่าคุย! ?ธวัชชัย จิตรภาสนันท์? ?กสทช.ด้านเศรษฐศาสตร์ 1 ใน 5 บอร์ด กสท.และเสียงข้างน้อย ถึงสาเหตุยังไม่เคาะราคาโครงข่าย ราคาประมูล และเพดานช่องรายการ…
หลังจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ประกาศกรอบการเปิดประมูลคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยแยกเป็น การให้ใบอนุญาตโครงข่ายทีวีดิจิตอล จะสามารถดำเนินการได้ช่วง มี.ค. หรือปลายไตรมาส 1/2556 ราคาเริ่มต้นการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล จำนวน 24 ช่อง รวมช่องเอชดี 4 ช่อง เดือน ก.พ. หลักเกณฑ์การประมูลแล้วเสร็จเดือน มี.ค. และคาดว่าจะเปิดประมูลได้ช่วง ก.ค.-ส.ค.2556 ส่วนการคัดเลือกการประกวดราคาช่องบริการสาธารณะ พ.ค. และช่องบริการชุมชน ปลายปี 2556 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีรายละเอียดให้ผู้สนใจได้ตัดสินใจได้เลย
และแม้ว่าจะมีหลักเกณฑ์เรื่อง การแจกคูปอง 22 ล้านครัวเรือนแก่ประชาชนออกมาแล้ว โดยความตั้งใจของ กสทช. คือ ต้องการให้ไปซื้อกล่องรับสัญญาณ หรือ เซตท็อปบ็อกซ์ ?(Set top box) ก่อนนำมาติดตั้งกับเครื่องรับโทรทัศน์ หรือไปซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่สามารถดูระบบดิจิตอลได้ทันที แต่ก็เป็นเพียงหลักการกว้างๆ ที่เมื่อเจาะลึกลงไปถึงรายละเอียด อาทิ ราคาคูปอง ระยะเวลาการเริ่มแจก พื้นที่ที่จะแจก วิธีการการแจก ความคิดเห็นของผู้ประกอบการ กลับพบว่ายังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ความคลุมเครือครั้งนี้จะเป็นอย่างไร ลองมาหาคำตอบจาก ?ธวัชชัย จิตรภาสนันท์? กรรมการ กสทช. 1 ใน 5 ของกรรมการ กสท และเสียงข้างน้อยที่ทวีตข้อความผ่าน @Thawatchai_NBTC หลังประชุมบอร์ดบ่อยครั้ง ได้ ณ บัดนี้…
IT Digest : ราคาเริ่มต้นการประมูล
?
ธวัชชัย : ยังไม่นิ่ง เพราะยังไม่ได้สรุปออกมา และมีหลายราคาที่ออกมาแล้ว ซึ่งแต่ละช่องราคาจะไม่เท่ากัน ช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (HD) จะแพงที่สุด ส่วนช่องสแตนดาร์ด (SD) ราคาจะรองลงมา ?โดยช่องทั่วไป 10 ช่อง ช่องข่าวสารและสาระ 5 ช่อง และช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง จะมีราคารองลงมาตามลำดับ ราคาตั้งต้นยังไม่สามารถบอกได้ แต่น่าจะอยู่ตั้งแต่ราคา 500 ล้านบาทลงมา
IT Digest : ราคาโครงข่ายฯ
ธวัชชัย : ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาประมูลก็มีความกลัวเรื่องราคาโครงข่ายด้วยกังวลว่า รายใหญ่ไม่อยากให้มาทำรายการ อยากให้มาทำทำโครงข่ายแทนดีกว่า โดยผู้ประกอบการเครือข่ายมีประมาณ 5-6 ราย ที่อยากทำ ซึ่งต่างประเทศมีการบังคับใช้ ?แต่ กสทช. ทำตามหลักเศรษฐศาสตร์ได้ ?โดยมองว่าถ้าราคาโครงข่ายถูก ราคาประมูลจะสูงขึ้น เพราะคนที่มาประมูลต้องคิดจ่ายค่าโครงข่ายก่อน แต่ถ้าจ่ายค่าโครงข่ายสูง ประมูลไปแล้วจะได้อะไร ?ถ้าราคาโครงข่ายสูงมากราคาประมูลเป็นศูนย์ ไม่มีใครอยากประมูล อย่างไรก็ตาม ตอนนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ศึกษาอยู่ ส่วนกรอบระยะเวลากำลังเร่ง โดยคาดว่าราคาโครงข่ายจะได้ช่วงไตรมาส 2
?ราคาค่าโครงข่าย ความจริงเป็นเรื่องที่ กสทช. ต้องใช้เรื่องเศรษฐศาสตร์ มากำหนดราคาค่าโครงข่ายที่ต่ำๆ ไว้ก่อน ใครทำได้ก็ทำใครทำไม่ได้ก็ออกไป คนทำได้ก็มาซื้อ ทำให้ต้นทุนถูก แต่ถ้าเหลือรายเดียวก็กลัวว่าจะมีการผูกขาดอีก จึงต้องมีแข่งขัน และไม่ซ้ำซาก ขณะที่ ตัวเลขก็ยังสูงอยู่ แต่ กสทช. ให้ไม่ได้ เราต้องพบกันครึ่งทาง?
IT Digest : ผู้ประกอบการสนใจร่วมประมูลกี่ราย
ธวัชชัย : เยอะมาก แต่ติดอยู่ที่ราคาโครงข่ายว่าเท่าไร แต่ กสทช.
IT Digest : ผู้ประกอบการเสนออะไรมาบ้าง
?
ธวัชชัย : ขอให้ กสทช. ทำงานเร็วขึ้นในด้านโครงข่าย แต่ทีมวิจัยโครงข่ายจะให้สิ้นเดือนนี้ ขณะที่ มองว่าค่าโครงข่ายฯ ที่แพงสะท้อนหลายอย่าง ประสิทธิภาพ ?ประสิทธิภาพแพง จะได้ทำน้อยทำมากขนาดไหน คนทำโครงข่ายกับรายการไม่ควรมาทำด้วยกัน ไม่ควรทำทุกอย่าง
IT Digest : เริ่มประมูลเมื่อไร
ธวัชชัย : ไตรมาส 3 หรือ ครึ่งปีหลัง จะให้เร็วกว่านั้นไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายตัวเลขที่ยังไม่นิ่ง อย่าลืมว่า เรื่องนี้ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน เราทำแบบไถนาล้วนๆ เป็นการไถรอบแรกเพราะฉะนั้นต้องเห็นใจกัน ขนาดการประมูลไลเซ่นส์ 3จี กว่าจะได้มาตั้งหลายรอบ ซึ่งการประมูลทีวีดิจิตอลเปรียบเสมือนการไถนาจากพื้นดินแห้งแตกระแหง
IT Digest : ความกังวลของการฮั้ว
ธวัชชัย : ไม่กังวล เพราะมีการทำงานที่โปร่งใส อธิบายได้ มีที่มา คิดว่าไม่มีการฮั้วแน่นอน สิ่งที่ยาก คือ พยายามทำทุกอย่างให้ตรง เปิดเผย และโปร่งใสที่สุด คิดอย่างละเอียด และไม่อยากพูดอะไรที่ไม่ชัดเจนออกไปก่อน เพราะคนที่จ้องวิจารณ์มีจำนวนมาก
IT Digest : ผู้ประกอบการเสนอความคิดเห็นอย่างไรบ้าง
ธวัชชัย : จำนวนช่องทีวีทั้งหมด 24 ช่อง แต่คาดว่าความสนใจทั่วไปจะเกิน 24 ราย ดังนั้น เมื่อถามไปที่ผู้ประกอบการ จึงได้คำตอบแค่ขอสงวนไว้ก่อน เพราะเขาอยากรู้ราคาโครงข่ายก่อน ลักษณะเหมือนถ้าคุณบอกราคาโครงข่ายมา ถึงจะบอกว่าเอาหรือไม่เอา ขณะเดียวกันก็พอรู้ตัวเลขที่เหมาะสมแล้ว
IT Digest : เงินที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมมีอะไรบ้าง
ธวัชชัย : 1.ค่าโครงข่ายฯ ?2.การผลิตคอนเทนต์ 3.ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการฯ และ ค่ากองทุนไม่เกิน 4% และ 4.ค่าประมูลใบอนุญาต
IT Digest : ผู้ประกอบการ 1 ราย สามารถประมูลได้สูงสุดกี่ช่อง
ธวัชชัย : คณะอนุกรรมการฯ เสนอ 2 ช่อง ซึ่งตรงกับทางเศรษฐศาสตร์ จะเอาช่องทั่วไป บวกช่องเด็ก หรือช่องข่าวบวกช่องเด็กก็ได้ ?แต่ช่องข่าวจะบวกกับช่องทั่วไปไม่ได้ เพราะมีการแข่งขันด้านความคิดที่น่ากลัว ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ตามมาหลายอย่าง เช่น การเมือง และความหลากหลายในอนาคตควรจะมากขึ้น นอกจากนี้ ยังไม่ต้องการให้ผูกขาดอยู่กับกลุ่มกลุ่มเดียว แต่ก็มีเรื่องเถียงกันอยู่ เพราะมีบางกลุ่มเสนอ 3 ช่อง ซึ่งมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่อต้านเยอะจากจำนวนทั้งหมด 24 ช่อง จะมีผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ทั้งหมด 5 ราย แต่จะเกิดการเอื้อให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาครอบครองอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งรู้อยู่แล้วว่า ผู้ผลิตรายใหญ่จะมีความได้เปรียบในการผลิตเนื้อหาได้มากกว่ารายเล็ก ความหลากหลายของรายการจะมีน้อย เพราะสื่อถูกผูกขาดในกลุ่มผู้ที่สามารถยึดได้ ซึ่งน่ากลัวมาก ถ้าให้รายเดียวรวม 3 ช่องรายการ ช่องข่าวจะไม่มีอิสระ เพราะ 5 ช่อง ถูกกลืนทั้งหมด ก็จะเหลือเพียงแค่ดาวเทียมเท่านั้น
IT Digest : ความชัดเจนเพดานช่องรายการ
?
ธวัชชัย : คนในอุตสาหกรรมจะเอา 2 ช่อง แต่รายใหญ่จะเอา 3 ช่อง จะเห็นว่าคนส่วนใหญ่จะเอา 2 ช่อง แต่ก็มีบางคนพยายามจะลากเอา 3 ช่องให้ได้ จึงลากกัน ยังไม่มีการสรุป ทั้งที่ผลออกมาแล้ว ขณะที่ ส่วนตัวมองว่า 3 ช่อง จะเป็นความเสี่ยงของประเทศมากทั้งความมั่นคง
IT Digest : ถ้าช่องรายการเด็กไม่มีใครประมูลจะทำอย่างไร
ธวัชชัย : เชื่อว่าช่องรายการเด็กมีคนประมูลแน่นอน ถ้าราคาโครงข่ายไม่มาก ขณะนี้ กสทช.กำลังหาทางออกว่าจะทำอย่างไร ส่วนแผนรองรับนั้น กำลังมองอยู่ ซึ่งเบื้องต้นต้องต่อรองราคาโครงข่ายให้สมเหตุสมผลมากที่สุด หาทางทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำอย่างไรให้ผู้ ผู้ประกอบการโครงข่ายมีจำนวนน้อยที่สุด สุดท้ายอยู่ที่การต่อรองโครงข่าย
?ถ้าเรารู้ราคาโครงข่ายเมื่อไร เราจะสามารถบอกได้ว่า ช่องเด็กจะมีคนประมูลหรือไม่ประมูล เพราะเด็กมีข้อจำกัดมาก ผู้ประกอบการอาจไม่เลือกก็ได้ เพราะฉะนั้นติดอยู่ที่โครงข่ายอย่างเดียว?
IT Digest : วิธีการประมูล
ธวัชชัย : ไม่ใช่ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ็อคชั่น) แน่นอน เพราะไม่เหมาะกับการประมูลคลื่นนี้ ? เนื่องจากเป็นการประมูลในราคาที่ต่ำกว่าราคาตั้งต้น โดยมีราคากลาง แต่การประมูลครั้งนี้ กสทช. ตั้งราคาต่ำไว้แล้วประมูลสูงขึ้น อีกทั้ง ยังต้องพิจารณาสิ่งที่เกิดตามมาหลังจากการประมูลด้วย ซึ่งเรื่องนี้ บอร์ด กสทช. ได้ให้บอร์ด กสท. กลับมาปรับปรุงแก้ไขแล้ว และในส่วนกติกาการประมูลควรเขียนการประมูลแบบเฉพาะเจาะจง แยกประเภทช่องให้ชัดเจน ไม่ควรเขียนครอบคลุมทุกอย่าง เพราะจะมีปัญหาตามมา รวมทั้งความเกี่ยวพันของผู้เข้าประมูลด้วย
ส่วนวิธีการประมูล อย่างน้อยต้องดูแบบการประมูล 3จี ?ครั้งที่ผ่านมา แต่ต้องทำให้ดีกว่า และควรเป็นวิธีเฉพาะ ไม่ใช่ประมูลอะไรก็ได้ แล้วใช้หลักการเดียวกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่า ควรเป็นวิธีการประมูลคลื่นที่เคยใช้กับการประมูล 3จี เนื่องจากการประมูลครั้งนี้ คล้ายกับการประมูล 3จี โดยจะนำเสนอบอร์ด กสท. และประชาพิจารณ์ ก่อนนำเข้าสู่บอร์ด กสทช. ให้พิจารณาอีกครั้ง
IT Digest : สิ่งที่ผู้บริโภคต้องเตรียมเมื่อเข้าสู่ทีวีดิจิตอล
?
ธวัชชัย : ผู้บริโภคเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มาก หลักๆ คือ ต้องมีกล่องรับสัญญาณ หรือ เซตท็อปบ็อกซ์ ?โดยผู้บริโภคต้องนำคูปองที่ กสทช. แจกให้ไปแลก ซึ่งเรื่องยังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด ควรกำหนดราคาออกมา โดยมีนโยบายที่ชัดเจนระหว่างผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่มีกำลังซื้อ
คูปองควรอยู่ที่ราคาหลัก จริงๆ คูปองควรเป็นนโยบายไปเลยว่า ผู้มีรายได้น้อย ควรจ่ายที่ราคาเท่าไร ถ้าเรารู้ว่าของราคา 1,000 บาท เราต้องให้ผู้มีรายได้น้อยซื้อไม่เกิน 300 บาท นั่นคือ ออกคูปองราคา 700 บาท แล้วผลิตรูปแบบธรรมดาไม่ต้องมีลูกเล่นมาก ส่วนคนที่ร่ำรวยก็อาจจะซื้อ โดยรวม คือ ราคาเฉลี่ยควรอยู่ที่ 1,000 หรือ มากกว่านี้ไม่มากนัก ?ส่วนเงินที่ได้มาแจกคูปองควรมีที่มา ไม่ใช่ได้มาจากเงินประมูลตั้งต้น เพราะยังไม่รู้ว่าราคาตั้งต้นจะอยู่ที่เท่าไร
ส่วนรายได้ควรมีการทำประมาณการเงินก่อนว่าปีแรก จะแจกกล่องที่เท่าไร ปีต่อไปจะเป็นอย่างไร ไม่และขึ้นอยู่กับว่าเขตไหนได้ก่อน ซึ่งราคาคูปองต้องคิดวิเคราะห์ก่อน เพื่อการประมาณการณ์ว่าแต่ละปี ต้องใช้เงินเท่าไร ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ยังไม่มีกระบวนการวิเคราะห์เรื่องเงิน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวได้เน้นย้ำไปหลายครั้งแล้ว
IT Digest : ฝากถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์บ้าง
ธวัชชัย : ปี 2556 เป็นปีที่มีความเปลี่ยนแปลงมากทั้ง โทรคมนาคม 3จี และทีวีดิจิตอล เพราะฉะนั้น กสทช.ก็พยายามทำงานหนัก แม้ว่าหลายคนจะไม่เห็น แต่ก็ยังพยายามประชาสัมพันธ์มากขึ้น แต่จะทำอะไรทันทีนั้นไม่ได้ ต้องมีตัวเลขอ้างอิง มีแผนที่สามารถทดสอบ และตอบคำถามสังคมได้ สิ่งที่คำนวณ ตัวเลขต้องออกมาอย่างถูกต้อง เพื่อยืนยันและพิสูจน์ได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยากที่สุด คือ สู้กับบอร์ดเองที่ไม่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ และยอมรับว่าสิ่งที่เหนื่อยมากที่สุดคือ กสทช. บางคนไม่มีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เลย.
?
?
Tags: กสทช., ยึดรูปแบบประมูล3จี, แย้มทีวีดิจิตอลเอไอเอส ร่วมรายงานผลการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
Posted by admin on
February 28, 2013
เอไอเอส ร่วมรายงานผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สด เร็ว แบบเรียลไทม์ โดยนำเทคโนโลยีการส่งข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ USSD ในการส่งผลการนับคะแนนทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร…
นายปรัธนา ลีลพนัง รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า นอกเหนือจากการมุ่งมั่นให้บริการที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้บริการมาโดยตลอดแล้ว เอไอเอสยังมีนโยบายในการนำเครือข่ายสื่อสารไร้สาย มาใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะในโอกาสต่างๆ ดังเช่น วาระการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเอไอเอสได้มีส่วนร่วมในการนำเทคโนโลยีไร้สายเข้ามารายงานผลการเลือกตั้งแบบไม่เป็นทางการ มาตั้งแต่ปี 2548
ดังนั้น ในวันที่ 3 มี.ค. 2556 ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เอไอเอสจึงได้ร่วมกับโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์พันธมิตร รวม 8 สถานี ประกอบด้วย ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 7, โมเดิร์นไนน์ทีวี, สทท.11, ไทยพีบีเอส, เนชั่นแชนแนล, ทีเอ็นเอ็น นำเทคโนโลยีการส่งข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ USSD (Unstructured Supplementary Service Data) มาประยุกต์ใช้เป็นระบบรายงานผลอย่างไม่เป็นทางการแบบ Real time เพื่อเป็นช่องทางสำหรับการส่งคะแนนจากสถานที่นับคะแนน 50 เขต
รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์และบริการดิจิตอล เอไอเอส กล่าวต่อว่า ระบบ USSD ดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษคือ อาสาสมัครสามารถกดส่งข้อมูลหมายเลขผู้สมัครฯ กลับเข้ามาประมวลผลที่ส่วนกลางได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ผู้ชมโทรทัศน์ทราบผลคะแนนสด (อย่างไม่เป็นทางการ) แบบ Real time ทันทีที่มีการนับคะแนน จากนั้นโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จะนำคะแนนทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อให้ข้อมูลที่จะเผยแพร่สู่ประชาชน มีความสมบูรณ์และหลากหลายในทุกแง่มุม
นายปรัธนา กล่าวด้วยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้หลังการปิดหีบลงคะแนน เวลา 15.00 น. สถานีโทรทัศน์ข้างต้นจะสามารถรายงานผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (อย่างไม่เป็นทางการ) ได้ภายในเวลา 15.45 น. ซึ่งนอกจากการรายงานผลดังกล่าวแล้ว เอไอเอสยังได้ร่วมกับโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยเนชั่น จัดทำ Exit Poll สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกผู้สมัครฯ อีกด้วย.
Tags: ร่วมรายงานผลการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ด้วยเทคโนโลยีไร้สาย, เอไอเอสทรูดิจิตอลพลัส เปิดเวทีอีสปอร์ตแข่ง 2 เกมดังชูเงินอัดฉีดกว่า 1.2 ล้าน
Posted by admin on
February 27, 2013
ทรู ดิจิตอล พลัส จ่อขึ้นแท่นผู้นำกีฬา E-Sport ตั้งเป้ายกระดับการแข่งเกมออนไลน์ให้กลายเป็นอาชีพ จับมือพันธมิตรชั้นแนวหน้า เปิดเวทีแข่งขัน 2 เกมออนไลน์สุดมันส์ Special Force และ FIFA Online 2 ตลอดปี 2556 อัดฉีดเงินรางวัลรวมกว่า 1.2 ล้านบาท…
นายมานะ ประภากมล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู ดิจิตอล พลัส จำกัด กล่าวว่า ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการแข่งขันอีสปอร์ต (E-Sport) ของไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาชาติ โดยการปรับปรุงรูปแบบการแข่งขันให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของทุกฝ่าย รวมถึงการสนับสนุนนักกีฬาให้พัฒนาไปสู่ความเป็นมืออาชีพ ในปี 2556 นี้ ทรู ดิจิตอล พลัส จึงร่วมมือกับพันธมิตร เช่น Tt eSPORTS, Neolution E-sport , Logitech Thailand , Compgamer และ FPS Thailand จัดการแข่งขัน 2 เกมยักษ์ใหญ่ในเครือ GG ได้แก่ Special Force และ FIFA Online 2 อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1.2 ล้านบาท พร้อมต่อยอดสิทธิประโยชน์อีกมากมาย ทั้งเงินเดือนและโอกาสการทำงานในวงการเกม อาทิ เป็นส่วนหนึ่งของรายการทางช่องทรูวิชั่นส์ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ระยะยาวสำหรับตัวนักกีฬาเอง
ผจก.ทั่วไป บ.ทรู ดิจิตอล พลัส กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้เพิ่มการถ่ายทอดสดการแข่งขัน เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถรับชมการแข่งขันได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ทั้งนี้ การแข่งขันเกม Special Force จะอยู่ในชื่อ Special Force Thailand Tournament 2013 ซึ่งประกอบด้วยการแข่งขัน 2 รายการใหญ่ ได้แก่ Special Force Thailand Championship 2013 และ Special Force Logitech Thailand Tournament? ส่วนการแข่งขันเกม FIFA Online 2 จะอยู่ในชื่อ FIFA Online 2 Thailand Tournament 2013 ซึ่งประกอบด้วย 2 ทัวร์นาเมนท์หลัก ได้แก่ FIFA Online 2 El Maestro และ Logitech The One Tournament
“ยิ่งไปกว่านั้น ทรู ดิจิตอล พลัส ยังเตรียมจัดกิจกรรม ?GG D-Day 2013: ทัวร์ จัด หนัก? กิจกรรมโร้ดโชว์ที่จัดเต็มกับสุดยอดความมันส์จาก GG ไม่ว่าจะเป็น GG E-Sport การแข่งขันเพื่อชิงแชมป์ภูมิภาคของเกม Special Force และ FIFA Online 2, TY Online เกมออนไลน์ฟอร์มยักษ์น้องใหม่ล่าสุดจากค่าย GG, GG Smart เกมบนมือถือ สนุกได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อม โปรโมชั่นสุดพิเศษจากทรูมันนี่ และทุกเกมในเครือ GG ซึ่งกิจกรรมนี้จะตระเวนจัดขึ้นทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ประเดิมที่แรกที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 16-17 มี.ค. 2556 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ต โดย ทรู ดิจิตอล พลัส มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดแข่งขัน E-Sport และกิจกรรมต่างๆ ในปีนี้ จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เล่นเกมได้อย่างทั่วถึงและดียิ่งขึ้นกว่าเดิม” นายมานะ กล่าว.
Tags: 1-2, 2, ทรูดิจิตอลพลัส, ล้าน, เกมดังชูเงินอัดฉีดกว่า, เปิดเวทีอีสปอร์ตแข่งเรดแฮทชี้เทรนด์ ‘มิดเดิลแวร์’ ฮิต องค์กรแห่ใช้หวังเพิ่มศักยภาพ
Posted by admin on
February 27, 2013
?เดเมียน วอง? ผู้จัดการประจำภูมิภาคอาเซียน เรดแฮท เผยแพร่บทความเรื่องเทคโนโลยีมิดเดิลแวร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยบทบาทของมิดเดิลแวร์แพร่หลาย เหตุช่วยลดความซับซ้อนในเทคโนโลยีได้ดี…
ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ นิยมใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ภาพรวมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น พบว่ามีการนำมิดเดิลแวร์ ซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เชื่อมหรือสนับสนุนการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกัน มาใช้อย่างแพร่หลาย
นายเดเมียน วอง ผู้จัดการประจำภูมิภาคอาเซียน เรดแฮท ได้บทความเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีมิดเดิลแวร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยระบุว่า การใช้งานมิดเดิลแวร์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ท่ามกลางการแสวงหาเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้องค์กรธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและพัฒนาการดำเนินธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น มิดเดิลแวร์เป็นตัวเชื่อมการใช้งานเทคโนโลยีส่วนต่างๆ ภายในองค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้งานแอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ดีขึ้น การใช้งานแพลตฟอร์มมาตรฐานที่ใช้ในระบบงาน (Enterprise Service Busses -ESBs) ร่วมกับแพลตฟอร์มข่าวสารต่างๆ เพื่อทำให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน และการใช้แพลตฟอร์มการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (BPM) ให้สามารถขับเคลื่อนกระบวนการทางธุรกิจได้แบบอัตโนมัติ
จากผลสำรวจของไอดีซี คาดการณ์ว่าในปี 2554-2558 ตลาดของเทคโนโลยีการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (BPM) และมิดเดิลแวร์แอพพลิเคชั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตต่อปีร้อยละ 12.4 แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน อาทิ เวียดนามและฟิลิปปินส์ตั้งเป้าจะป็นผู้นำในปี 2555? เทคโนโลยีมิดเดิลแวร์กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในฟิลิปปินส์ ทั้งในด้านการควบรวมเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ระบบคลาวด์และเทคโนโลยีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าด้วยกัน รวมถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า
ในภาพรวม อัตราการเติบโตเป็นเลขสองหลักที่ต่อเนื่องกันนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของการใช้มิดเดิลแวร์ซึ่งอาจมีผลต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น ความต้องการที่จะผสมผสานระหว่างธุรกิจกับเทคโนโลยี รวมถึงการเกิดขึ้นของคลาวด์คอมพิวติ้ง องค์กรต่างๆ กำลังมองหาการสร้างความสมดุลในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อรองรับการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจ ในขณะที่ต้องมั่นใจด้วยว่ากระบวนการต่างๆ ต้องมีความคล่องตัวในหลายกรณี เทคโนโลยีค่อยๆ มีการพัฒนาและสามารถทำงานร่วมกันได้
ปัจจุบัน โอเพ่นซอร์สโซลูชั่นได้นำเสนอประสิทธิภาพระดับองค์กร รวมทั้งความยืดหยุ่นและความมั่นคง นอกจากนี้โซลูชั่นการจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ และในราคาที่ถูกลงในปัจจุบันสามารถทำได้ด้วยการสมัครสมาชิกได้ในราคาที่ต่ำลง ลดต้นทุนที่เกิดจากการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้านไอที (TCO) และเสนอทางเลือกในระยะยาวได้มากขึ้น รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นกับธุรกิจ ซึ่งสิ่งนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแรงกระเพื่อมและแรงผลักดันที่เพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจ เพื่อขึ้นเป็นผู้นำและได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่าผู้อื่นในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
ความหลากหลายและความคล่องตัวถือเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้มิดเดิลแวร์ ยกตัวอย่างเช่น JBoss Enterprise Middleware มีศักยภาพสูงในการจัดการกับผลิตภัณฑ์จำนวนมาก อีกทั้งยังสามารถนำเสนอความหลากหลายด้วยการใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ สามารถใช้โซลูชั่นให้เหมาะกับความต้องการของงานแต่ละงานได้ ซึ่งความหลากหลายนี้จะช่วยให้โซลูชันใช้งานได้อย่างเฉพาะเจาะจงในทุกภาคอุตสาหกรรม
มิดเดิลแวร์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์มากในการทำธุรกิจในปัจจุบัน ด้วยการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้เกิดความสมดุลย์กับความทันสมัยเพื่อรองรับการเติบโตและลดความซับซ้อนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ แต่ก็เป็นเหมือนหลายเทคโนโลยีก่อนหน้านี้ โดยมิดเดิลแวร์ดูเหมือนจะเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในองค์กรต่างๆ ทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
Tags: มิดเดิลแวร์, องค์กรแห่ใช้หวังเพิ่มศักยภาพ, ฮิต, เรดแฮทชี้เทรนด์‘กสท’ ยันไม่คืนคลื่น1800 กสทช.ชี้หมดอายุสัมปทานปรับปรุงไม่ได้
Posted by admin on
February 27, 2013
?
กสท ?ยันไม่คืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เล็งส่งหนังสือขอปรับปรุงคลื่น ฟาก กสทช. สวนกลับ คลื่นหมดอายุสัญญาสัมปทานปรับปรุงไม่ได้ เปรยปรับแผนแม่บทใหม่…
?
แหล่งข่าวจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทเตรียมส่งหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อชี้แจงเหตุผลที่อาจไม่ส่งคืนคลื่นย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ได้ หลังหมดอายุสัญญาสัมปทาน และเพื่อขอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณาคำขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 800 เมกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ อีกครั้ง ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.)
?
ทั้งนี้ ขอให้ กทค.นำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. เพื่อพิจารณาให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมายที่อนุญาตให้ กสท ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่การให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานและการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลต่อไปโดยเร็ว และเมื่อมีการประชุมในวาระดังกล่าว ต้องให้ กสท เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมด้วย
?
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ด้านกฎหมาย กทค. กล่าวว่า หลัง กสท หมดสัญญาสัมปทาน การเปลี่ยนจากสัญญาสัมปทานมาเป็นใบอนุญาตส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท แต่วิธีการที่ไม่ให้กระทบนั้น สามารถทำได้ด้วยการปรับปรุงการใช้คลื่น ซึ่งคลื่นที่จะนำมาปรับปรุงจะต้องเป็นคลื่นที่ยังมีอายุสัญญาสัมปทานอยู่ แต่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะหมดสัญญาสัมปทานนั้น ไม่สามารถนำมาปรับปรุงได้
?
ทั้งนี้ การปรับปรุงคลื่นสามารถทำได้ตามกฎหมาย แต่สิทธิ์ในการอนุญาตให้ใช้คลื่นจะต้องไม่หมด แต่กรณีดังกล่าวสัญญาสัมปทานหมด ดังนั้นไม่สามารถนำคลื่นที่จะหมดสัญญามาปรับปรุงเพื่อใช้ต่อได้ ส่วนกรณีที่ทางคณะอนุกรรมการฯ มีข้อเสนอให้ กสท ใช้คลื่นของผู้ประกอบการรายหนึ่งนั้น ในทางกฎหมายสามารถทำได้ แต่ทาง กสท จะต้องไปเจรจาตกลงกับผู้ประกอบการรายนั้นก่อน แล้วทำเรื่องเข้ามาที่ กสทช. เพื่อพิจารณาอีกครั้ง
?
กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ส่วนตัวมองว่าในส่วนของแผนแม่บท มีรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจจะต้องมีการประเมินแผนแม่บทใหม่ ขณะที่ กฎหมายเขียนไว้ชัดเจนในมาตรา 48 ว่าให้ กสทช. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และต้องปรับปรุงแผนแม่บท ซึ่งสิ่งที่ยังขาดไปในแผนแม่บท คือ แนวทางในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่
?
สำหรับ หนังสือที่จะส่งไปยัง กสทช. ระบุว่า กสท ได้พิจารณาแล้วมีเห็นว่า ความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช.เป็นการพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นสิทธิ์ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เมื่อการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาสิ้นสุดลง แต่ยังไม่ให้ความเห็นในประเด็นบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.กสทช. ถึงแม้มาตรา 45 จะบัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการโดยวิธีประมูล แต่มาตรานี้เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในกรณีทั่วไป ในการกำกับคลื่นความถี่ใหม่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรรหรือใช้อยู่ก่อน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553
?
ขณะที่ กสท ได้ดำเนินตามมาตรา 82 ซึ่งบัญญัติให้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ใช้บังคับ มีหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช.และใน วรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่ คืนคลื่นความถี่เพื่อ 1. นำไปจัดสรรใหม่ หรือ 2. ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่มาตรา 48 โดยให้นำความในมาตรา 83 วรรค 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม.
?
?
?
Tags: กสท, กสทช.ชี้หมดอายุสัมปทานปรับปรุงไม่ได้, ยันไม่คืนคลื่น1800