เตือน พลังโซเชียล คิดแค่เล่นๆ แต่ทำคนถึงตาย

เตือน พลังโซเชียล คิดแค่เล่นๆ แต่ทำคนถึงตาย

กูรู อินเทอร์เน็ต เตือนการใชัพลังโซเชียลมีเดีย ต้องมีการกลั่นกรอง และคำนึงถึงจริยธรรม เหตุมีอิทธิพลสร้างพลังทางสังคมในระดับสูง แฉ พฤติกรรมสุดฮิตเรื่องรุมกินโต๊ะเหยื่อในสังคมออนไลน์ ถึงขั้นทำผู้ถูกสังเวย ทนไม่ไหวจนฆ่าตัวตายมาแล้ว…

หลายครั้งที่เรื่องราวต่างๆ สามารถคลี่คลายได้จากกระแสสังคมที่เกิดขึ้นบน ?โซเชียลมีเดีย? รวมถึงกรณีล่าสุด ที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กประกาศตามหารถยนต์หรูคันหนึ่ง โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Wong Cartoon ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพของน้องสาว ซึ่งระบุว่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากโดนรถยนต์มินิคูเปอร์ ล้อแม็กซ์ สีดำ ทะเบียนป้ายแดง 4721 พุ่งชน ขณะที่ตนเองพร้อมเพื่อนอีก 3 คนลงไปช่วยหลือผู้บาดเจ็บจากเหตุรถชนกันบนสะพานพระราม 9 เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา จนกลายเป็นกระแสแพร่หลายไปทั่วตามโซเชียลเน็ตเวิร์กและเว็บบอร์ดต่างๆ กระทั่งกลายเป็นข่าวดัง

นอกจากนี้ ในหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา เราคงเคยได้เห็น ?พลังโซเชียลมีเดีย? มาแล้ว ตั้งแต่การเป็นช่องทางรายงานข่าวสารที่รวดเร็ว กระตุ้นให้เกิดกระแสและการคลี่คลายคดี ประหนึ่งว่า ?โซเชียลมีเดีย? จะกลายเป็นสื่อหลักทดแทนสื่อเก่า ที่ผู้คนต่างให้ความสนใจติดตาม จาก ?พลังของการแชร์?

?แม้จะเกิดความนิยมสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่เชื่อว่าในประเทศไทยยังไม่เกิดภาพที่จะเห็นสื่อหลักถูกทดแทนด้วยอินเทอร์เน็ต? นายปรเมศวร์ มินศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ต แสดงความเห็น

สื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่คนนิยมนำมาใช้ในการเผยแพร่ แบ่งปันเรื่องราว จนหลายครั้งก็จะเห็นว่าเกิดกระแสในวงกว้างขึ้น เพราะสามารถทดแทนความต้องการออกสื่อหลัก ซึ่งมีโอกาสน้อยกว่าได้ ขณะเดียวกัน ก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของเรื่องนั้นๆ ด้วยว่ามีภาพหรือเนื้อหาอย่างไร ถือเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้เรื่องไปได้ไกลแค่ไหน บางเรื่องนำเสนอออกมาได้ดีจนดีเกินไป ก็เกิดเป็นวัฏจักรที่ไม่รู้จบ

?ข่าวสารที่มีความเกี่ยวพันกับอารมณ์ อาจน่าสงสาร เศร้า หรือตลก จะมีแนวโน้มแพร่หลายต่อไปเรื่อยๆ คล้ายกับฟอร์เวิล์ดเมล์เรื่องขอรับบริจาคเลือด บางกรณีเกิดขึ้นหลายปีมาแล้ว เมื่อตรวจสอบก็พบว่าไม่ต้องการแล้ว หรือที่บอกว่าให้ช่วยกันแชร์ภาพเด็กหรือสัตว์เจ็บป่วยบนเฟซบุ๊กเพื่อที่ทางเฟซบุ๊กจะจ่ายเงินตามจำนวนผู้แชร์ คนส่วนใหญ่ก็ช่วยกันส่งต่อ แต่ถามว่าเคยตรวจสอบหรือไม่ เพราะหลายครั้งที่เราพบว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง? นายปรเมศวร์ กล่าว

กูรู รุ่นบุกเบิกอินเทอร์เน็ตในไทย ยังกล่าวอีกว่า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเครื่องมือที่ดีขึ้นทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว เมื่อก่อนเรามีแค่การส่งอีเมล์ถึงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ เดี๋ยวนี้มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมาย การแชร์ก็เกิดขึ้นง่ายและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตัวมองว่าเฟซบุ๊กเป็นโซเชียลมีเดียที่ทรงอิทธิพลที่สุดสำหรับคนไทย เนื่องจากจำนวนผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคน แสดงให้เห็นว่านั่นเป็นตัวเลขที่มากกว่าโซเชียลอื่นๆ รวมถึงทวิตเตอร์ ซึ่งน้อยกว่าถึง 5 เท่า

สิ่งสำคัญในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตคือการตรวจสอบ ในฐานะที่ทุกคนเป็นผู้ใช้ผู้เสพสื่อออนไลน์ ทุกคนสามารถช่วยกันทำหน้าที่นี้ได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้เจ้าหน้าที่หรือภาครัฐเพียงอย่างเดียว ในต่างประเทศ

?การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อสังคม ทุกคนควรตระหนักหรือฉุกคิดก่อนส่งต่อข้อความว่าข้อความนั้นเป็นจริงหรือเท็จแค่ไหน ทุกคนพลาดกันได้ หากไปแชร์ภาพหรือส่งต่อเรื่องที่ไม่ใช่ความจริง เมื่อเรารู้ความจริงแล้วก็อยากให้ช่วยกันรับผิดชอบ อยากให้เผยแพร่กระจายความจริงไปให้รวดเร็วด้วย ตัวผมเองก็เคยแชร์ภาพออกไปเมื่อรู้ว่าเป็นภาพตัดต่อไม่ใช่ภาพจริงก็รีบไปบอกไปแก้ไข เรื่องพวกนี้ไม่ใช่กฎระเบียบ แต่เป็นเรื่องการสร้างค่านิยมซึ่งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนควรมี จริงๆ แล้วในโลกอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะตามเว็บบอร์ด จะมีประชาคมของพวกเขาซึ่งคอยบอกคอยตักเตือนกันเอง ไม่เชิงว่าเป็นกฎแต่เขารู้กันว่าแบบนี้ควรทำหรือไม่ควร อยากให้คนที่เข้าใจมาช่วยกันสร้างค่านิยมดีๆ ให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย? นายปรเมศวร์ กล่าว

สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ การข่มเหงรังแกบนอินเทอร์เน็ต ในช่วงหลังเราจะได้เห็นภาพการบังคับและกระทำให้อีกฝ่ายต้องอับอายผ่านอินเทอร์เน็ตบ่อยๆ ยกตัวอย่างในต่างประเทศที่มีการนำภาพเพื่อนร่วมชั้นเรียนไปตัดต่อเพื่อล้อเลียนว่าอ้วน หรือการเรียกเพื่อนๆ มารุมทำร้ายและแสดงท่าทีที่เหนือกว่าอีกฝ่าย ผลลัพธ์ที่ตามมาคือผู้ถูกกระทำได้รับความอับอายและฆ่าตัวตาย ซึ่งอัตราดังกล่าวมีแนวโน้มสูงมาก การส่งต่อภาพลักษณะดังกล่าวเหมือนเป็นการรังแกซ้ำ เมื่อพบเห็นภาพแบบนั้นก็ไม่ควรส่งต่อ ควรหยุดการเผยแพร่โดยเริ่มจากตัวเอง

?กรณีเหล่านี้ถือเป็นความร้ายแรง อาจยังไม่เห็นภาพชัดเจนในประเทศไทย เราเรียนรู้ได้จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่อยากให้ต้องเกิดเรื่องราวแบบนั้นแล้วทุกคนจึงหยุดการกระทำ ในฐานะที่ทุกคนเป็นผู้ใช้ อย่ารอให้เกิดกฎหมายหรือข้อบังคับแล้วค่อยตระหนักถึงความรับผิดชอบดังกล่าว? นายปรเมศวร์ กล่าวทิ้งทาย.

?

ที่มาของข้อมูลจาก
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ

Tags:
, , ,

Post a Comment