เริ่มแล้วงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2559
Posted by admin on
March 31, 2016
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2559
Tags: 2559, ประจำปี, สวทช., เริ่มแล้วงานประชุมวิชาการtags: 2559, ประจำปี, สวทช., เริ่มแล้วงานประชุมวิชาการ
No Comments
สวทช. ประกาศผลสำรวจ 10 ข่าวดังด้านวิทย์ปี 58
Posted by admin on
December 23, 2015
สวทช.เผยผลสำรวจ 10 ข่าวดังด้านวิทยาศาสตร์ฯ ปี 2558 โดยข่าว ?อุกกาบาต…ลูกไฟปริศนาตกจากฟ้า?ได้รับความสนใจสูงสุด แสดงให้เห็นว่าคนไทยยังนิยมข่าวใกล้ตัว
Tags: 10, 58, ข่าวดังด้านวิทย์ปี, ประกาศผลสำรวจ, สวทช.tags: 10, 58, ข่าวดังด้านวิทย์ปี, ประกาศผลสำรวจ, สวทช.
No Comments
สวทช. จุฬา-ม.สุรนารี จับมือ CERN ยกระดับวิจัยฟิสิกส์
Posted by admin on
October 15, 2013
สวทช. จุฬาฯ และ ม.สุรนารี จับมือ CERN ร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าร่วมเครือข่ายวิจัยฟิสิกส์ระดับโลกเป็นแห่งแรกในอาเซียน หวังใช้ประสบการณ์มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิจัยประเทศ…
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. )? กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (European Organization for Nuclear Research) หรือเรียกชื่ออย่างสั้นว่า เซิร์น (CERN) ได้ร่วมลงนามความร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ (Worldwide LHC Computing Grid: WLCG)? โดยร่วมดำเนินการศูนย์ระดับ ๒ ซึ่งประเทศไทยเป็นศูนย์แรกในภูมิภาคอาเซียน ที่ทำหน้าที่สำรองข้อมูล เพื่อใช้งานในภูมิภาค
?
ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์นทั้งหมด ๔ ครั้ง และได้มีพระราชดำริให้หน่วยงานของไทยศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือกับเซิร์น เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของไทย ได้มีโอกาสเรียนรู้จากหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก เพื่อนำมาพัฒนาองค์ความรู้ด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงภายในประเทศต่อไป
ในเบื้องต้น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับสนองพระราชดำริ โดยมีการลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนงที่จะมีความร่วมมือกัน (Expression of Interest : EOI) ระหว่างหน่วยงานของไทยคือสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยวิจัย CMS ของเซิร์น? โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการส่งนักศึกษาและครูฟิสิกส์ไทยไปร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น รวมทั้งสนับสนุนให้นักฟิสิกส์จากประเทศไทยเข้าร่วมทำงานวิจัยในโครงการของเซิร์น
ภายหลังจากการลงนาม EOI สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการและวิจัยกับเซิร์น โดยมีสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และสวทช. เป็นเลขานุการร่วม เพื่อดำเนินการกำหนดนโยบายในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือไทย-เซิร์น ซึ่งได้มีการจัดทำกิจกรรมต่างๆ มาเป็นลำดับ ตั้งแต่โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น, โครงการ CERN School Thailand, โครงการเครือข่ายกริดคอมพิวติ้ง ซึ่งเป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือฯ ในวันนี้? ทั้งนี้ การลงนามความร่วมมือฯ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยการเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายพีรพันธ์ พาลุสุข) ซึ่งเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว
นายไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สวทช. และรองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี? ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับเซิร์นว่า เป็นการเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทย ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยขั้นสูง โดยใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ที่ใช้การลงทุนสูงอย่างเครื่องเร่งอนุภาค LHC ของเซิร์น? เป้าหมายหลักของเซิร์นจะเป็นการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งเป็นการค้นหาความรู้ที่มีความท้าทาย และสำคัญอย่างยิ่งในด้านวิชาการ
ที่ปรึกษาอาวุโส สวทช. กล่าวต่อว่า การพัฒนาเครื่องมือในการทดลองที่มีขีดความสามารถสูง ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในปัจจุบัน? ซึ่งเซิร์นได้ริเริ่มค้นคว้าไว้นานแล้ว เช่น HTML ที่ใช้ในเว็บไซต์ต่างๆ แม้แต่หน้าจอสัมผัสแบบ capacitive ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือในขณะนี้ เซิร์นก็ได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ 2513? เทคโนโลยีสำคัญของเซิร์น คือ เครื่องเร่งอนุภาค และตัวตรวจวัด (หรือ เซ็นเซอร์) ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการการแพทย์ในการรักษาโรคโดยใช้ลำอนุภาคโปรตรอน และการวินิจฉัยโรคด้วยเครื่อง PET Scan จึงนับเป็นความโชคดีของวงการวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ อันก่อเกิดความร่วมมือนี้ขึ้น
ศ.ดีเทอร์ ฮอยเออร์ ผู้อำนวยการทั่วไป? เซิร์น กล่าวว่า โครงการของเซิร์น เป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนำระดับโลก เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาของหลายประเทศ ทำหน้าที่จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) มีนโยบายที่จะสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายนักวิจัยในประเทศแถบอาซียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักวิจัยต่างๆ ได้มีความร่วมมือในการศึกษาหาข้อมูล และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลก มีงานวิจัยใหม่ๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือมนุษยชาติต่อไป
ขณะที่ นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ) กล่าวว่า สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ได้ร่วมมือในการติดตั้งและใช้งานเครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์? ที่เรียกว่า Worldwide LHC Computing Grid หรือ WLCG?? โดยได้ดำเนินการร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ สมาชิกเครือข่าย WLCG ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งนี้ เครือข่าย WLCG เป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้ง ที่สามารถทำงานได้จริงและมีขีดความสามารถในการประมวลผลสูงอย่างยิ่ง ในด้านจำนวนหน่วยประมวลผล ความจุข้อมูล และความเร็วในการรับส่งข้อมูล
ผู้อำนวยการ สวทช.กล่าวอีกว่า เครือข่ายนี้ออกแบบมาเพื่อการวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคโดยเฉพาะ ประกอบด้วยศูนย์คอมพิวเตอร์หลายแห่ง โดยแบ่งการทำงานเป็น4 ระดับ คือ ศูนย์ระดับศูนย์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเซิร์น ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยตรงจากการทดลองแล้วส่งต่อให้กับศูนย์ระดับหนึ่ง ซึ่งมีจำนวน 11 แห่ง ใน 10 ประเทศ ศูนย์ระดับสองทำหน้าที่สำรองข้อมูลจากศูนย์ระดับหนึ่ง เพื่อใช้ในงานในภูมิภาคต่างๆ มีจำนวนประมาณ 140 แห่งใน 40 ประเทศ และศูนย์ระดับสุดท้ายคือศูนย์ระดับสามซึ่งเป็นศูนย์สำหรับใช้งานการวิจัยในแต่ละภูมิภาค สำหรับประเทศไทยอยู่ในศูนย์ระดับสองและเป็นศูนย์แรกในภูมิภาคอาเซียน โดยเป็นความร่วมมือของ 3 หน่วยงานที่กล่าวถึงข้างต้น
ดร.ทวีศักดิ์ฯ กล่าวอีกว่า จากความร่วมมือดังกล่าวฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งด้านทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และความรู้ความสามารถของทีมงาน ในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาทั้งสามหน่วยงานได้ทำงานร่วมกับเซิร์นและสมาชิกของ WLCG ในหลายประเทศทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และ เอเซีย เพื่อเรียนรู้การติดตั้งซอฟต์แวร์ และแก้ไขปัญหาต่างๆ หน่วยงานในประเทศ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่เป็นผู้ดูแลเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับสถาบันการศึกษา ได้ให้ความช่วยเหลือประสานงานกับผู้ดูแลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ด้วยความร่วมมือของทุกๆ ฝ่าย ทำให้วันนี้มีความพร้อมในการเข้าร่วมเครือข่าย WLCG โดยสิ่งที่ได้จากการทำงานร่วมกับ WLCG สามารถนำมาปรับใช้กับโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ ทั้งในด้านเทคนิค และการบริหารงานเพื่อทำให้นักวิจัยมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูงในการผลิตงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงกับเซิร์น โดยได้เข้าเป็นสมาชิกของ The Compact Muon Solenoid Collaboration หรือ CMS เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2555 ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรก และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีความร่วมมือกับเซิร์น โดยตรง นักฟิสิกส์ไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลการทดลองของ CMS และร่วมวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดลองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอนุภาคฮิกส์และฟิสิกส์ใหม่ๆ ที่อาจนำไปสู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ต่อไป นอกเหนือจากงานวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคกับเซิร์น แล้ว เครือข่ายกริดคอมพิวเตอร์ ที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นมายังสนับสนุนงานด้านการคำนวณขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์แก่นักวิจัยในประเทศไทยอีกด้วย อาทิ การบริหารจัดการน้ำ การจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิทยาการและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการยกระดับงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นรากฐาน เป็น ?เสาหลักแห่งแผ่นดิน? ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป
ส่วน ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยในส่วนของ มทส. กับ ALICE ของเซิร์น เกิดขึ้นเมื่อปี 2553 โดยได้ทำวิจัยทางด้านเทคโนโลยีกริดของ ALICE และเข้าร่วมโครงการปรับปรุงระบบติดตามทางเดินภายในของ ALICE ที่เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของระบบเซ็นเซอร์ งานวิจัยที่ได้เริ่มไว้มีความก้าวหน้าตามลำดับ โดยมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับการยอมรับจาก? ALICE นำไปสู่การลงนามความร่วมมือระหว่าง มทส. และ ALICE?
อธิการบดี มทส.กล่าวด้วยว่า จากความร่วมมือดังกล่าว ในช่วงต้นปี 2556ได้ขยายผลงานวิจัยด้านวิชาการออกไปสู่หน่วยงานวิจัยอื่นๆ ภายในประเทศ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Microelectronics Center) ที่ทำการศึกษาสมบัติของเวเฟอร์ที่จะนำมาใช้ผลิตเซ็นเซอร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ที่กำลังออกแบบและพัฒนาระบบวัดสมบัติทางไฟฟ้าของเซ็นเซอร์ต้นแบบ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในการการจัดตั้งศูนย์คำนวณแบบกริดที่ มทส.? โดยสรุปแล้วถือว่าความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ALICE ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมทส. ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับห้องปฏิบัติการไอออนหนักที่เซิร์น ทั้งทางด้านการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการวิเคราะห์ผลทางด้านฟิสิกส์ การมีความร่วมมือกับองค์การวิจัยชั้นนำระดับโลกเช่นนี้จะช่วยเสริมศักยภาพงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นต่อไป.
?
Tags: CERN, จับมือ, จุฬา-ม.สุรนารี, ยกระดับวิจัยฟิสิกส์, สวทช.tags: CERN, จับมือ, จุฬา-ม.สุรนารี, ยกระดับวิจัยฟิสิกส์, สวทช.
No Comments
สวทช. เปิดเวที ?ขยะเป็นทอง? กระตุ้น Eco-products รับเออีซี
Posted by admin on
December 20, 2012
iTAP สวทช. เปิดโครงการ ?เปลี่ยนขยะเป็นทอง : รับกระแสโลกร้อนและสร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้? เน้นแปลงโฉมวัสดุเหลือใช้ เพิ่มมูลค่าผลงานหนุนภาคเอกชนผลิต Eco-products ตอบโจทย์รักษ์สิ่งแวดล้อมและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ รับกระแส AEC…
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. นางสุวิภา วรรณสาธพ รองผู้อำนวยการ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี ด้านพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนผู้ประกอบการไทยผ่านโครงการ ?เปลี่ยนขยะเป็นทอง : รับกระแสโลกร้อนและสร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้? เน้นแนวคิดการออกแบบวัสดุเหลือใช้แปรเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นสวยเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ มุ่งใช้เป็นจุดขายในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ด้วยใช้การออกแบบและการตลาดเป็นจุดแข็งคู่ขนานการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน และเปิดรับการเข้าสู่ประชาคมเศราฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี 2015
รอง ผอ.ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยีด้านพัฒนาธุรกิจ กล่าวต่อว่า เดิมอุตสาหกรรมไทยมุ่งเน้นด้านการผลิต หรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณของเสียและเพิ่มคุณภาพสินค้า ซึ่งปัจจุบันการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการผลิตอย่างเดียวคงไม่เพียงพอต่อการรักษาตลาดที่ยั่งยืนได้ การให้ความสำคัญกับการทำการตลาด และการใส่ใจกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วยการออกแบบจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้อย่างแท้จริง ซึ่ง iTAP ได้สนับสนุนแก่อุตสาหกรรมไทย ได้แก่ การออกแบบหรือการเพิ่มมูลค่าเศษเหลือจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
นางสุวิภา กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อสร้างจุดขายที่แตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ประกอบกับกระแสโลกปัจจุบันที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและการลดภาวะโลกร้อน ผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถจำหน่ายรวมทั้งส่งออกได้นั้น จำเป็นต้องเป็นสินค้ารักษ์โลก ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในเรื่องกระบวนการผลิต เทคโนโลยีที่ใช้งาน รวมทั้งคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คำนึงถึงวัฏจักรชีวิตของวัสดุ และทำให้วงจรการผลิตและใช้วัสดุสมบูรณ์ โดยปีงบประมาณ 2555 และ 2556 ได้ดำเนินงานใน 2 เฟส ซึ่งเป็นการให้คำปรึกษาด้านการเพิ่มมูลค่าเศษเหลือใช้ด้วยหลักการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญโครงการ
นายสิงห์ อินทรชูโต ผู้เชี่ยวชาญโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทองฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นแนวคิดในการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์ด้วยการออกแบบมาจากความต้องการที่ iTAP และตนเองตระหนักว่าในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมมีเศษวัสดุเหลือทิ้งปริมาณมากทั้งๆ ที่เป็นของที่ต้องซื้อหาเข้ามาแต่ยังใช้ไม่ทันคุ้มค่าก็ทิ้งไป ซึ่งโครงการนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เห็นอยู่จริงแล้วการลดของเสียไม่ใช่เพียงแค่แก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่อาจทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มจากของที่มีอยู่โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจฝืดเคือง ซึ่งมีประโยชน์มาก และที่สำคัญอาจทำให้งานออกแบบของประเทศไทยมีความแตกต่างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะกระแสรักษ์โลกกำลังเป็นที่นิยมอย่างตอนนี้ ทำให้สามารถหาผู้ซื้อสินค้าประเภท Eco-products ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ มีบริษัทที่เข้าร่วมโครงการของทั้ง 2 เฟส จำนวนทั้งสิ้น 8 บริษัท ซึ่งในปัจจุบันได้มีความท้าทายใหม่ๆจากเศษวัสดุที่หลากหลายมากขึ้น หรือเศษวัสดุจากภาคอุตสาหกรรมที่อาจคิดกันว่าไม่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบได้ อาทิ กระจก เศษแก้ว เศษเหล็ก อะลูมิเนียม รวมทั้งวัสดุที่นำมาออกแบบได้อย่างสวยงามตลอดการ เช่น ไม้ เป็นต้น การออกแบบโดยเฉพาะการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการทดลองทดสอบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อได้เศษวัสดุที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน การทำผลิตภัณฑ์จากเศษไม่เพียงแก้ปัญหาด้านเทคนิค แต่ยังเป็นการฝึกคิดนอกกรอบไปพร้อมกัน ผู้ประกอบการที่ต้องการอยู่รอดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถนี้ ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ต้องมาก แต่ต้องปรับความคิด ความตั้งใจมากพอสมควร
อย่างไรก็ตาม ผลจากความพยายามระหว่างผู้เชี่ยวชาญและความร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการทุกบริษัทนั้น ได้เป็นเป็นรูปธรรมผ่านการจัดแสดงผลงานต้นแบบของเฟสที่ 1 และ 2 จำนวน 8 บริษัท ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ? 22 ธ.ค. 2555 ณ บูธนิทรรศการ อาคารไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า รัชโยธิน กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด Upcycling Exhibition ซึ่งภายในงานจะได้เห็นการใช้เทคนิคการออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานที่ไม่คิดว่าจะสามารถนำมาผสมผสานกันได้มาทำให้เห็นว่า ผลจากการคิดนอกกรอบสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้อย่างไร
Tags: ?ขยะเป็นทอง?, Eco-products, กระตุ้น, รับเออีซี, สวทช., เปิดเวทีtags: ?ขยะเป็นทอง?, Eco-products, กระตุ้น, รับเออีซี, สวทช., เปิดเวที
No Comments
ฟรี สวทช. ชวนเยาวชนอายุ10-13ปี เข้าค่ายวิทย์น้อย 4-6ก.ย.นี้
Posted by admin on
July 8, 2012
สวทช. เปิดรับเยาวชน อายุ 10-13 ปี ร่วมกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนรู้ บ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สู่นวัตกรรมสร้างสรรค์เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตฟรี…
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนรู้ บ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สู่นวัตกรรมสร้างสรรค์เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถมีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อสังคมและเศรษฐกิจ อีกทั้งยังให้เด็กและเยาวชนมีทักษะและกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น โดยผ่านรูปแบบการลงมือปฏิบัติ เตรียมพร้อมในการเผชิญเหตุการณ์และแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ ภายในค่ายฯ มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายกิจกรรม เช่น ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนเกี่ยวกับการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่ให้ความรู้ผ่านการบรรยายเกี่ยวกับโลกแห่งเทคโนโลยี เป็นต้น กิจกรรมจัดระหว่างวันที่ 4-6 ก.ย. 2555 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ รังสิต ปทุมธานี สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2529-7100 ต่อ 77215
Tags: 4-6ก.ย.นี้, ชวนเยาวชนอายุ10-13ปี, ฟรี, สวทช., เข้าค่ายวิทย์น้อยสวทช. ปลื้ม SEI ชูมาตรฐานอุตซอฟต์แวร์ไทยอันดับ1 อาเซียน
Posted by admin on
June 24, 2012
สวทช. ปลื้ม สถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SEI) ชูมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอันดับ 1 ของอาเซียน และ อันดับ 15 ของโลก ที่ผ่านมาตรฐาน CMMI?
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่า ความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทย ที่สถาบันวิศวกรรม ซอฟต์แวร์ (Software Engineering Institute :SEI) แห่งมหาวิทยาลัย คาร์เนกี ประกาศให้ บริษัท ซอฟต์แวร์ไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็นลำดับที่ 15 ของ โลก จากบริษัทที่ผ่านการประเมินทั้งหมด 76 ประเทศ? และเป็นลำดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ไทยสามารถแซงหน้าประเทศมาเลเซียได้สำเร็จ? ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไทยได้รับความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น และมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น สร้างความภาคภูมิใจในการที่จะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับและ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตลอดจนเป็นตัวเชื่อมคู่ค้าและพันธมิตรใหม่ๆให้กับผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
ทั้งนี้ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเกษตร และอาหาร แฟชั่น ท่องเที่ยว ยานยนต์ และอัญมณี เนื่องจากความต้องการซอฟต์แวร์มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเสริมจากการเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ขณะที่ ความสำเร็จของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยในวันนี้ เป็นผลมาจากการที่ซอฟต์แวร์พาร์คมีโครงการ สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ยกระดับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ ด้วยการทำงานที่มีกระบวนการตามมาตรฐาน CMMI อันเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้ง ยังเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพ ลดความเสี่ยงด้านการบริหารบุคลากรโดยทำงานร่วมกันเป็นทีมสามารถเปลี่ยนถ่ายงานภายในทีมงานได้ง่าย ทำให้สามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ครบถ้วนตรงตามกำหนดเวลา ภายใต้งบประมาณที่กำหนด สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการแข่งขันในระดับเวทีโลก
สำหรับ โครงการ SPI@ease เป็นการผนึกกำลังการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐมี 2 หน่วย คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ภายใต้การดำเนินโครงการของ สวทช. โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITAP) และ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ที่เล็งเห็น และตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ร่วมกันก่อตั้งขึ้นในปี 2550 และนับจากนั้นมาโครงการได้มีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์กว่า 50 บริษัทที่สามารถพัฒนากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตามมาตรฐาน CMMI และผ่านการประเมินในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
?ความสำเร็จในครั้งนี้ จะตอกย้ำความมั่นใจว่า ไทยพร้อมเป็นอีกหนึ่งประเทศที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดสากลในระดับเท่าเทียมกับนานาประเทศได้ ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของ สวทช. ที่มีพันธกิจหลักในการสร้าง เสริมความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ทั้งในแง่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งมอบภาคเอกชนให้ผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ การสนับสนุนภาคเอกชน ในด้านการบริการวิจัย? การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัยต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
?
?
สำหรับมาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration)? เป็นกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดย Software Engineering Institutle (SEI) แห่งมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก จึงมีความจำเป็นที่ทุกประเทศต้องส่งเสริมให้บริษัทผู้ ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองหันมาให้ความสนใจ เพื่อยกระดับคุณภาพ และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งใน ระดับสากล นอกจากนี้ ยังวางรากฐานในการยกระดับขีดความสามารถของ บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ให้พร้อมแข่งขันในเวทีการค้าเสรี และในระดับสากล โดย CMMI กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อให้ทุกคนมีขั้นตอนการปฏิบัติงานและการทำงานต่างๆ ชัดเจน ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร ทำให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง และขอบเขตการทำงานของ CMMI ที่เข้ามาควบคุมยังทำให้คุณภาพซอฟต์แวร์ดีขึ้น
อีกทั้ง ยังลดจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิต หากกระบวนการทำงานไม่ชัดเจนอาจเกิดข้อผิดพลาดและนำมาซึ่งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นได้ ดังนั้น หากสามารถควบคุมคุณภาพและส่งงานได้ตามกำหนดเวลา จะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจในมาตรฐาน ซึ่งถือว่าสำคัญไม่เฉพาะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เท่านั้น? หากมีอยู่ในทุกอุตสาหกรรม จะยิ่งเพิ่มมาตรฐานและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้ามากยิ่ง ขึ้น อีกด้วย.
?
Tags: SEI, ชูมาตรฐานอุตซอฟต์แวร์ไทยอันดับ1, ปลื้ม, สวทช., อาเซียนสวทช. ผนึกพันธมิตร พัฒนาระบบผลิตวัคซีน
Posted by admin on
April 9, 2012
สวทช. และ มจธ.จับมือไบโอเนท-เอเชีย ร่วมพัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตวัคซีน…
นายสุวิทย์ เตีย รองผู้อำนวยการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมมือกับ สวทช. โดย ไบโอเทค ลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุ (National Biopharmaceutical Facility: NBF) เพื่อสร้างศักยภาพอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ? โดยวางเป้าหมายในการที่จะเป็นศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีและขยายขนาดการผลิตยาและวัคซีนในระดับ pre-commercial ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 และเป็นหน่วยที่เชื่อมโยงการวิจัยและทดลองในระดับห้องปฏิบัติการกับการผลิตจริงในระดับอุตสาหกรรม โดยโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุนี้เป็นเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานวิจัย มหาวิทยาลัย ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแบบสหสาขาวิชา
ทั้งนี้ โรงงานต้นแบบนี้ตั้งอยู่ภายในพื้นที่สวนอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน? มีการออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) สำหรับการผลิตยาชีววัตถุเพื่อการทดสอบทางคลินิกได้? โดยมีการแบ่งส่วนการผลิตออกเป็น 4 หน่วย (Bioprocess Unit 1, 2, 3, และ 4) มีพื้นที่หน่วยละประมาณ 600 ตารางเมตร? ในระยะแรกมีแผนใช้งานในพื้นที่ 2 หน่วย? หน่วยแรก (Bioprocess Unit 1) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการผลิตยาที่เป็นโปรตีนโดยใช้ยีสต์หรือแบคทีเรียที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมเป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต ออกแบบเป็นระบบ Clean room (grade C) ระดับ Biosafety level 1 (BSL-1) และหน่วยที่สอง (Bioprocess Unit 2) คือ ส่วนที่ใช้สำหรับการผลิตยาที่เป็นโปรตีนโดยใช้เซลล์สัตว์ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมเป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต ออกแบบเป็นระบบ Clean room ระดับ BSL-2? และหน่วยควบคุมและวิเคราะห์คุณภาพ
หน่วยควบคุมและวิเคราะห์คุณภาพ (QA/QC Unit) ซึ่งแบ่งเป็นแล็บทางเคมี ชีววิทยา ประกอบด้วยห้องที่ออกแบบเฉพาะการวิเคราะห์ เช่น Sterility room, ELISA room เป็นต้น ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือวิเคราะห์ที่ใช้สำหรับการตรวจควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตยาและวัคซีนแล้วเสร็จ และมีโครงการความร่วมมือในการพัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตวัคซีน ร่วมกับ บริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่จะเข้ามาใช้พื้นที่ cleanroom ในการทำงานพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพสำหรับการผลิตวัคซีนด้วยกัน โดยกำลังอยู่ในระหว่างการวิจัยและพัฒนาวัคซีนรวมสำหรับเด็กประเภทต่างๆ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Acellular Pertussis) และวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก
นายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด กล่าวว่า บริษัทประสบปัญหาจากน้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมา และโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบ เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาที่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทำให้บริษัทฯ ต้องเพิ่มเงินลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาทในการฟื้นฟูในส่วนของโรงงานเดิมและดำเนินการก่อสร้างโรงงานใหม่เพื่อรองรับการขยายการผลิตจากต้นน้ำและการแบ่งบรรจุวัคซีนรวม ได้แก่ วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ดังนั้น การที่ได้มีโอกาสใช้โรงงานต้นแบบผลิตยาวัคซีนของทางมหาวิทยาลัยฯ ทำให้สามารถดำเนินงานตามแผนเดิมที่ทางบริษัทฯ ได้วางไว้
นายศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตวัคซีนที่ได้มาตรฐานระดับสากลขึ้นใช้เองในประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาการผลิตวัคซีนตั้งแต่การทำวิจัยในห้องปฏิบัติการ และขยายการผลิตให้เกิดการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อการพึ่งพาตนเอง และสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันในเวทีประชาคมอาเซียนที่จะมาถึงในปี 2558.
Tags: ผนึกพันธมิตร, พัฒนาระบบผลิตวัคซีน, สวทช.สวทช. จัดทัพ ‘NAC 2012′ รู้ สู้ พิบัติภัยไปกับวิทย์-เทคโนโลยี
Posted by admin on
March 24, 2012
สวทช.ก.วิทย์ฯ โชว์นวัตกรรมและผลงานช่วยรับมือพิบัติภัย ในงานประชุมประจำปี สวทช.( NAC 2012) หวังรับมือพิบัติภัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ย้ำให้ภาคธุรกิจพลิกกลยุทธ์แปลงวิกฤติเป็นโอกาสขยายผลงานวิจัยไปสู่การผลิตอุตสาหกรรม วันที่ 24-28 มี.ค.นี้…
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ในปีนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. จัดงานประชุมประจำปี 2555 หรือ NAC 2012 หัวข้อการจัดงาน ?รู้สู้พิบัติภัย ไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี? ช่วยสนับสนุนการดำเนินการด้านจัดการภัยพิบัติตามนโยบายของรัฐบาล โดยการจัดประชุมดังกล่าวจัดทุกปี โดยเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีที่เกิดจากองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาของ สวทช. และเครือข่ายเพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก
รมว. วิทย์ กล่าวต่อว่า กระทรวงฯ ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เสนอแนะนโยบายระยะยาวเพื่อใช้ในด้านการวางแผนการจัดการภัยพิบัติด้านน้ำในหลายๆด้าน ขณะที่ ส่วนตัวรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ( กบอ.) กำหนดวิธีการดำเนินการของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเป็นไปโดยเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการดำเนินการอื่นๆ ทำให้มีระบบข้อมูลนำเสนอด้านสภาวะน้ำ ข้อมูลพยากรณ์ระดับน้ำทะเลหนุนสูงสุด ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ ปริมาณฝนรายวันสูงสุดในพื้นที่ต่างๆ เส้นทางพายุจากภาพถ่ายดาวเทียม ปริมาณและระดับน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั้งระดับน้ำในเขื่อน ระดับน้ำในลุ่มน้ำ รวมถึงปริมาณฝนและระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิจัยของ สวทช. จาก 4 ศูนย์แห่งชาติได้นำเสนอผลงานความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้กับประชาชน และสังคมได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ตัวอย่างผลงานเด่นที่นำมาจัดแสดงในงานแถลงข่าวครั้งนี้ อาทิ ถุงกระสอบ nSack มีขนาดเล็กและเบา จ่าเฉยวัดระดับน้ำ หุ่นจำลองตำรวจที่ติดตั้ง sensor เพื่อใช้ในการตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งผ่าน และตรวจการแซงทับเส้นทึบ แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งของอ่าวไทย nCA น้ำใส หายเหม็น ออกซิเจนสูง Flood Sign Application เครื่องมือในการช่วยเก็บข้อมูลระดับน้ำท่วมสูงสุดในปี 2554 ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ ?ข้าวเหนียวข้าวก่ำ? Thai Science Biodiversity ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 1แสนข้อมูล สืบค้นหาข้อมูลได้ง่าย ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ สามารถยืนยันถิ่นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตของประเทศไทยในเวทีโลกได้ ขณะเดียวกันยังสะท้อนถึงการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางชีวภาพของไทยหลังเกิดพิบัติภัยต่างๆ ได้ด้วยฃ
นอกจากนี้ ยังมีการสัมมนาหัวข้อที่น่าสนใจกว่า 28 เรื่อง โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการรับมือพิบัติภัย อาทิ หัวข้อ การบริหารทรัพยากรน้ำ เพื่อการรับมือมหาอุทกภัย ซึ่งถอดบทเรียนความจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 และเสวนาแผนการจัดการและแนวทางการรับมือของภาครัฐ โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ วิทยากรได้แก่ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร รศ.ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร และ ผศ.ดร.สุทัศน์ วีสกุล สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
หัวข้อ มองไปข้างหน้ากับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ บริษัทชั้นนำด้านฮาร์ดิสก์ไดร์ฟที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น บริษัทเวสท์เทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โตซิบา สตอเรจ ดีไวท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศ) จำกัด บริษัท ซีเกท เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด มาร่วมพูดคุยและให้มุมมองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของไทย นอกจากนี้ ในส่วนของภาคการศึกษากับการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ จะได้ฟังมุมมองและประสบการณ์จากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือฟีโบ้ ที่ได้นำเครื่องบินบังคับวิทยุสำรวจพื้นที่น้ำท่วม และได้นำมาประยุกต์ใช้สำรวจการลอกคูคลองในพื้นที่ต่างๆ
การเสวนาในหัวข้อ รู้ทันข้อมูลเพื่อรับมือพิบัติภัย โดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชน และอาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จะมาร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองในการที่ประชาชนจะเลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างไรในช่วงวิกฤต ขณะเดียวกันภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีวิธีการสื่อสารอย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก การสัมมนา การปรับตัวของเกษตรกรในภาวะน้ำท่วม เป็นอีกหนึ่งเวทีที่จะได้รับฟังประสบการณ์ของเกษตรกรไทยที่ต้องปรับวิถีชีวิตและการทำกินในช่วงน้ำท่วม
การจัดงานประชุมและแสดงผลงานประจำปี 2555 (NAC 2012) เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันที่ 24-28 มี.ค.2555 ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nstda.or.th/nac2012
Tags: 2012, nac, จัดทัพ, พิบัติภัยไปกับวิทย์-เทคโนโลยี, รู้, สวทช., สู้